โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ
(Joint FAO/WHO Food standards Programme)
  Codex เป็นชื่อใช้เรียกคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission - CAC) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้คำว่า"Codex" เป็นคำที่ใช้เรียก "Codex Alimentarius" ซึ่งมาจากภาษาละติน หมายถึง "Food Code" ด้วย วัตถุประสงค์ "เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศ" อำนาจหน้าที่ของ CAC
1.ดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศ 
2.ดำเนินงานร่วมกับองค์กรระหว่างรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระหว่างรัฐ ในงานที่เกี่ยวกับมาตรฐานอาหาร 
3.จัดลำดับความสำคัญ ริเริ่ม และให้ข้อเสนอแนะในการเตรียมร่างมาตรฐานของโคเด็กซ์ โดยผ่านหรืออาศัยความช่วยเหลือจากองค์การอื่นที่เหมาะสม 
4.รับรองมาตรฐานของโคเด็กซ์ที่จัดทำขึ้นตามข้อ 3. และประกาศใช้เป็นมาตรฐานภูมิภาคหรือมาตรฐานสากล 
5.ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานโคเด็กซ์ที่ประกาศใช้แล้วตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนา 
โครงสร้าง CODEX 
    1. คณะกรรมาธิการ (Codex alimentarius Commission - CAC) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก Codex ทุกประเทศ รวมทั้งประเทศที่เป็นสมาชิกของ FAO หรือ WHO คณะกรรมาธิการจะแต่งตั้งประธาน (Chairpersom)และรองประธาน 3 คน (Vice-Chairperson) จากผู้แทนของประเทศสมาชิก 
2. คณะกรรมการบริหาร(Executive Committee) ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมาธิการ รองประธานคณะกรรมาธิการ 3 คน และผู้แทนภูมิภาค(Geographic Representative) รวม 7 ภูมิภาค ได้แก่ กลุ่มแอฟริกา เอเชียยุโรป ละติอเมริกาและแคริบเบียน ตะวันออกใกล้อเมริกาเหนือ แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ สามารถเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารได้ไม่เกิน 1 ตำแหน่ง 
3. คณะกรรมการสาขา Codex(Codex Committee) แต่งตั้งคณะกรรมการสาขาต่าง ๆ เพื่อพิจารณาร่างมาตรฐานอาหาร Codex ได้แก่ 
    3.1 คณะกรรมการสาขาที่ทำงานเกี่ยวกับอาหารที่เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป(General Subject Committee) มีทั้งหมด 9 สาขา 
3.2 คณะกรรมการสาขาที่ทำงานเกี่ยวกับอาหารที่เป็นสินค้า(Commodity Committee) มีทั้งหมด 12 สาขา 
3.3 คณะกรรมการเฉพาะกิจ (AD Hoc Intergovernmental Task Force) มีทั้งหมด 3คณะ 
3.4 คณะกรรมการประสานงานกลุ่มภูมิภาค (Regional Coordinating Committee) มีทั้งหมด 5 กลุ่ม CAC แต่งตั้งผู้ประสานงานกลุ่ม (Regional Coordinator) จากประเทศที่ได้รับเลือกจากลุ่มภูมิภาคให้เป็นผู้ประสานงานกลุ่ม ประเทศที่ได้รับเลือกจากกลุ่มภูมิภาคให้เป็นผุ้ประสานงานกลุ่ม ประเทศที่ได้รับเลือก จักต้องรับเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม และทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานกลุ่มภูมิภาคด้วย
   
 
    Codex Alimentarius
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Copyright © 2015. www.acfs.go.th All Rights Reserved.
หน่วยประสานงานกลางด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของประเทศไทย(Thailand SPS Contact Point)
กลุ่มความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอื่นๆ (SPS Section)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
ที่อยู่ เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. 10900
โทร. 02-561-4204 โทรสาร 02-561-4034
E-mail : [email protected], [email protected]